08 พฤษภาคม 2549
สรุปข้อสนเทศ :TRT
สรุปข้อสนเทศ
บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) (TRT)
ที่ตั้งสำนักงานและโรงงาน
516/1 หมู่ที่ 4 (นิคมอุตสาหกรรมบางปู) ถนนสุขุมวิท ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10280
โทรศัพท์ (02) 709-4499, (02) 323-0818, (02) 709-3237-8 โทรสาร (02) 323-0910, (02) 709-3236
Website www.tirathai-transformer.com
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 10 พฤษภาคม 2549)
ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน
หุ้นสามัญ 101,321,250 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2 บาท รวม 202,642,500 บาท บริษัทฯเสนอขายหุ้นสามัญ
เพิ่มทุนต่อประชาชนจำนวน 30,000,000 หุ้น
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
ราคาเสนอขาย 5.75 บาทต่อหุ้น
วันที่เสนอขาย วันที่ 26-28 เมษายน 2549
วัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุน - เพิ่มศักยภาพในการผลิต 30 ล้านบาท
- ชำระคืนเงินกู้ยืม 85 ล้านบาท
- เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน 50 ล้านบาท
การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน - ไม่มี -
ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน
บริษัทฯประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้า ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า (Made to Order) เพื่อ
จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้เครื่องหมายการค้า "ถิรไทย" รวมทั้งให้บริการติดตั้งและทดสอบ
หม้อแปลงไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. หม้อแปลงไฟฟ้า แบ่งตามระบบไฟฟ้าได้ 2 ประเภท คือ
1.1 หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง (Power Transformer) เป็นหม้อแปลงที่ใช้ในการปรับแรงดันไฟฟ้าที่ส่ง
มาจากแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ผ่านไปตามสายส่งแรงสูง ให้ลดลงก่อนส่งกระแสไฟฟ้าเข้าสายระบบจำหน่ายและ
ส่งให้ผู้ใช้ต่อไป ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีกำลังไฟฟ้ามากกว่า 10 เมกะโวลต์แอมแปร์ (MVA) หรือแรงดัน
ไฟฟ้ามากกว่า 36 กิโลโวลต์ (kV) โดยมีกำลังไฟฟ้าสูงสุดถึง 200 เมกะโวลต์แอมแปร์ (MVA) แรงดันไฟฟ้า
สูงสุด 230 กิโลโวลต์ (kV) ผู้ใช้ได้แก่ ผู้ผลิตและจ่ายพลังงานไฟฟ้า เช่น บมจ. กฟผ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) นิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้กระแสไฟฟ้า
จากสายส่งแรงสูง เป็นต้น ในปัจจุบัน บริษัทฯถือได้ว่าเป็นผู้ผลิต 1 ใน 3 รายในประเทศไทยที่สามารถผลิต
หม้อแปลงไฟฟ้ากำลังได้
1.2 หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย (Distribution Transformer) เป็นหม้อแปลงที่ใช้ในการปรับลด
แรงดันไฟฟ้าที่ส่งผ่านมาตามสายระบบจำหน่าย ให้ลงมาอยู่ในระดับที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้า
ต่อไป ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีกำลังไฟฟ้าน้อยกว่า 10 เมกะโวลต์แอมแปร์ (MVA) และแรงดันไฟฟ้า
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 36 กิโลโวลต์ (kV) ทั้งนี้ ยังแบ่งตามประเภทของฉนวนที่ใช้ได้อีก 2 ประเภท คือ
แบบน้ำมัน (Oil Type) ผู้ใช้หม้อแปลงชนิดนี้เป็นผู้จ่ายไฟฟ้า เช่น การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาค (กฟภ.) นิคมอุตสาหกรรม และโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้กระแสไฟฟ้าจากสายส่งระบบจำหน่าย
และแบบแห้งคาสเรซิน (Dry Type Cast Resin) ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น คือ ยากต่อการลุกไหม้ โดยใช้ในอาคารสูง
เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ บริษัทฯสามารถผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดพิเศษตามแบบที่ลูกค้ากำหนด ได้แก่
หม้อแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง ซึ่งใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ในการ
หลอมโลหะ เป็นต้น
2. งานบริการที่เกี่ยวข้องกับหม้อแปลงไฟฟ้า ได้แก่ งานบริการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า งานบริการเติม
น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า งานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า งานบริการแก้ไขซ่อมแซมหม้อแปลงไฟฟ้า
งานบริการทดสอบ และ งานบริการเช่าหม้อแปลงไฟฟ้า
โครงสร้างรายได้
โครงสร้างรายได้ของบริษัทฯและบริษัทย่อย ระหว่างปี 2546 ถึง 2548 ดังนี้
ประเภทของผลิตภัณฑ์และบริการ 2546 2547 2548
(ล้านบาท) % (ล้านบาท) % (ล้านบาท) %
1. รายได้หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง 140.53 19.24 376.63 40.99 393.57 36.08
2. รายได้หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย 535.51 73.33 438.78 47.75 593.97 54.45
3. รายได้ส่วนประกอบหม้อแปลงไฟฟ้า 6.68 0.91 44.71 4.87 48.19 4.42
4. รายได้จากการให้บริการ 42.32 5.79 53.55 5.83 43.26 3.97
5. รายได้อื่นๆ 5.28 0.72 5.19 0.56 11.94 1.09
รวมรายได้ทั้งสิ้น 730.32 100.00 918.86 100.00 1,090.93 100.00
จำหน่ายหม้อแปลงภายในประเทศ 569.21 77.94 615.21 66.95 953.35 87.39
จำหน่ายหม้อแปลงต่างประเทศ 113.51 15.54 244.91 26.65 82.38 7.55
รวมรายได้จากการขาย 682.72 93.48 860.12 93.61 1,035.73 94.94
การแข่งขัน
ไม่รุนแรง โดยบริษัทฯมีส่วนแบ่งการตลาดภายในประเทศร้อยละ 20 (หม้อแปลงไฟฟ้ากำลังร้อยละ 30 และ
หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายร้อยละ 15) โดยบริษัทฯเป็นผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง 1 ใน 3 รายของประเทศ
โดยอีก 2 บริษัทเป็นบริษัทข้ามชาติ ได้แก่ บริษัทไดเฮ็น อิเล็คทริค จำกัด และ บริษัท เอบีบี จำกัด ซึ่งบริษัทฯ มี
ศักยภาพในการผลิตใกล้เคียงกับคู่แข่งทั้ง 2 ราย ส่วนคู่แข่งในตลาดหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายในประเทศ มี
จำนวนทั้งหมด 21 ราย ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทยทั้งสิ้น โดยมีคู่แข่งจำนวน 4 ราย ที่มีความสามารถในการผลิตและ
คุณภาพของสินค้าอยู่ในระดับใกล้เคียงกับบริษัทฯ ได้แก่ บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญชัย
หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด บริษัท ไทยแม็กซ์เวล อิเลคทริค จำกัด และ บริษัท ไทยทราโฟ จำกัด นอกนั้นเป็นผู้ผลิต
รายเล็กถึงรายกลาง
กลุ่มลูกค้า
1. ลูกค้าในประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าภาครัฐวิสาหกิจ ได้แก่ บมจ. กฟผ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้า
นครหลวง (กฟน.)
- กลุ่มลูกค้าภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นผู้สั่งซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์โดยตรง เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย
จำกัด (มหาชน) เป็นต้น นอกจากนี้ กลุ่มอื่นๆ ได้แก่ โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า และนิคมอุตสาหกรรม
- กลุ่มผู้รับเหมาโครงการ ส่วนใหญ่เป็นผู้รับเหมาในระดับนานาชาติ โดยงานที่รับเหมาจะรวมไปถึง
การจัดหาและติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าด้วย เช่น บริษัท ชิโยดะ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ซีเมนส์ จำกัด บริษัท
ซัมซุง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริษัท ฟอสเตอร์ วีลเลอร์ จำกัด เป็นต้น
2. ลูกค้าต่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าภาครัฐวิสาหกิจ
- กลุ่มผู้รับเหมาโครงการ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้รับเหมาระดับนานาชาติ ซึ่งในประเทศมาเลเซียและ
สิงคโปร์ ผู้ใช้หม้อแปลงไฟฟ้าทั้งภาครัฐและเอกชนจะสั่งผ่านผู้รับเหมาโครงการ โดยงานที่รับเหมาจะรวม
ไปถึงการจัดหาและติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า เช่น บริษัท EPAK Engineering ประเทศมาเลเซีย บริษัท Fuji Electric
Co, Ltd ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
- ตัวแทนจำหน่าย ปัจจุบัน บริษัทฯมีตัวแทนจำหน่าย 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท Dai Hong Ha
ประเทศเวียดนาม และ บริษัท Coris Trading Co., Ltd. ประเทศบรูไน
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ที่ผ่านมา บริษัทฯไม่มีข้อพิพาทในเรื่องสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด และบริษัทฯอยู่ระหว่างดำเนินการขอรับรอง
มาตรฐาน ISO 14001 ด้านสิ่งแวดล้อม และ OHSAS 18001 ด้านความปลอดภัย ซึ่งคาดว่าจะได้รับการรับรอง
ทั้ง สองมาตรฐานภายในไตรมาส 2 ปี 2549
สรุปสาระสำคัญของสัญญา
1. สัญญาระหว่างบริษัทฯกับ Fuji Electric Systems Co., Ltd. ประเทศญี่ปุ่น
ชื่อสัญญา Technical Assistant Agreement
วันเริ่มต้นสัญญา 1 กรกฎาคม 2544
วันหมดสัญญา 30 มิถุนายน 2549
สาระสำคัญของสัญญา
- เป็นสัญญาในการให้ความช่วยเหลือจาก Fuji Electric Systems Co., Ltd. ด้านเทคนิค
ในการผลิตและการออกแบบหม้อแปลงไฟฟ้า โดยมีหม้อแปลงประเภทต่างๆ ได้แก่
1. หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง (Power Transformer) กำลังไฟฟ้าสูงสุด 30,000 กิโลโวลต์ แอมแปร์ (kVA)
แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 33 กิโลโวลต์ (kV)
2. หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายประเภท Rectifier Transformer กำลังไฟฟ้าสูงสุด 10,000 กิโลโวลต์
แอมแปร์ (kVA) แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 33 กิโลโวลต์ (kV)
3. หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายประเภท Induction Furnace Transformer กำลังไฟฟ้าสูงสุด 5,000
กิโลโวลต์แอมแปร์ (kVA) แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 22 กิโลโวลต์ (kV)
- บริษัทฯสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้าภายในประเทศไทย และไปยังประเทศมาเลเซีย
และสิงคโปร์ โดยไม่ต้องขออนุญาต สำหรับประเทศที่ต้องขออนุญาต ได้แก่ ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม
อินโดนีเซีย พม่า ลาว และกัมพูชา
- ค่าใช้จ่ายตามสัญญา ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายรายปี และค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
การบอกเลิกสัญญา
คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทำการละเมิดข้อตกลงตามสัญญาที่ระบุไว้ และไม่ได้มีการแก้ไขการกระทำ
ดังกล่าวภายใน 60 วัน นับจากมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
2. สัญญาระหว่างบริษัทฯกับ VA TECH EBG Transformatoren GmbH & Co ประเทศออสเตรีย
ชื่อสัญญา Licence Contract
วันเริ่มต้นสัญญา 30 สิงหาคม 2548 (บริษัทเริ่มสัญญาครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2537)
วันหมดสัญญา 9 พฤศจิกายน 2552 (เป็นการต่ออายุสัญญาครั้งที่ 4)
สาระสำคัญของสัญญา
- เป็นสัญญาการให้ใช้ลิขสิทธิ์หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง (Power Transformer) ของ VA TECH EBG
Transformatoren GmbH & Co เพื่อผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ที่มีกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 20 ? 300
เมกะโวลต์แอมแปร์ (MVA) แรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 66 - 230 กิโลโวลต์ (kV)
- บริษัทฯได้รับอนุญาตให้ผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังภายใต้ลิขสิทธิ์ของ EBG เพียง
รายเดียวในประเทศไทย โดยสามารถจำหน่ายได้ในประเทศไทย มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย บรูไน
ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม แต่สำหรับประเทศออสเตรียและประเทศอื่นๆจะต้องได้รับการตกลง
จาก EBG ก่อน และมีสิทธิติดข้อความ "Licence EBG -Linz/Austria" บนผลิตภัณฑ์
- บริษัทฯ และ EBG มีสิทธิที่จะผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าที่ได้รับการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงโดยฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่ง โดยอยู่ภายใต้ขอบเขตของสัญญาฯ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบกับลักษณะและ/หรือคุณภาพ
ของหม้อแปลงไฟฟ้า บริษัทฯจะต้องได้รับอนุญาตจาก EBG ก่อน
- ค่าใช้จ่ายตามสัญญา ประกอบด้วย (1) ค่าออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับหม้อแปลงแต่ละรุ่น ซึ่งจะมีการ
จัดทำสัญญาและตัดจำหน่ายในระยะเวลา 5 ปี (2) ค่าธรรมเนียมคิดเป็นร้อยละของยอดขายผลิตภัณฑ์ที่ใช้
ลิขสิทธิ์ฉบับนี้ (3) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม (ถ้ามี)
การบอกเลิกสัญญา
- การต่อสัญญาต้องแจ้งล่วงหน้า 3 เดือนก่อนวันหมดสัญญา และแม้ว่าหมดสัญญาแล้ว บริษัทฯ มีสิทธิ
ที่จะนำความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดไปพัฒนาใช้ต่อได้
- คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทำการละเมิดข้อตกลงตามสัญญาที่ระบุไว้ และไม่ได้มีการแก้ไขการกระทำ
ดังกล่าวภายใน 60 วัน นับจากมีคำแจ้งเตือน
หมายเหตุ บริษัทฯมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมด้านซอฟท์แวร์การคำนวณเพื่อออกแบบหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งจ่าย
เป็นรายปี
3. สัญญาเช่าพื้นที่โกดังสินค้า
บริษัทฯ ได้เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เลขที่ 521 นิคมอุตสาหกรรมบางปู ถนนสุขุมวิท ตำบลแพรกษา
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวนที่ดินเนื้อที่ 6-3-62 ไร่ และเนื้อที่อาคาร 2,997 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็น
โกดังสินค้า โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ผู้เช่า : บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน)
ผู้ให้เช่า : บริษัท ซันเท็กซ์ เท็กซ์ไทล์ จำกัด
ระยะเวลา : 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2551
ค่าเช่า : 300,000 บาทต่อเดือน
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ - ไม่มี -
การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ - ไม่มี -
โครงการดำเนินงานในอนาคต
1. ขยายศักยภาพการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง
ให้มีขีดความสามารถในการจ่ายไฟฟ้าสูงขึ้น จากเดิมบริษัทฯสามารถผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังที่มีขีด
ความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสูงสุด 200 เมกะโวลต์แอมแปร์ (MVA) แรงดันไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ (kV)
ให้มีขีดความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสูงสุด 300 เมกะโวลต์แอมแปร์ (MVA) แรงดันไฟฟ้า 230
กิโลโวลต์ (kV) ซึ่งจะใช้พื้นที่เดียวกันกับโรงงานเดิม โดยการปรับปรุงและเพิ่มเครื่องมือเครื่องจักรโดยจะใช้
เงินลงทุนประมาณ 50 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่ปี 2547 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2549 โดยในปี 2549 มีงบประมาณ
29 ล้านบาท และสามารถเริ่มทำการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังขนาด 300 เมกะโวลต์แอมแปร์ (MVA) แรงดัน
ไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ (kV) ได้ในปี 2550 ปัจจุบันบริษัทฯได้มีการสั่งซื้อเครื่องจักรที่จะใช้ในการผลิตจาก
ประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปบางส่วนแล้ว เช่น อุปกรณ์เตาอบ เครื่องมือทดสอบ รวม 21 ล้านบาท โดย
อาศัยเงินทุนหมุนเวียนภายในบริษัทฯ ทั้งนี้กลุ่มลูกค้าสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าระดับ 300 เมกะโวลต์แอมแปร์
(MVA) ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศ
2. ขยายตลาดต่างประเทศ
บริษัทฯมีแผนที่จะขยายตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ซึ่งในประเทศดังกล่าว
ยังไม่มีความสามารถในการผลิต หรือมีกำลังการผลิตไม่เพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันรายได้จากต่างประเทศประมาณ
ร้อยละ 60-70 เป็นรายได้จากประเทศเวียดนาม ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศบรูไน ศรีลังกา อินเดีย มาเลเซีย
สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ยังคงมีสัดส่วนไม่มากนัก ดังนั้นจึงมีโอกาสในการขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น
อีกมาก ทั้งนี้ บริษัทฯจะทำการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ซึ่งปัจจุบัน บริษัทฯ มีตัวแทน
จำหน่ายต่างประเทศ 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเวียดนาม และประเทศบรูไน
รายการระหว่างกัน
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง : บริษัท ไทยคอร์รูเกท จำกัด
ลักษณะกิจการ : ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย
แบบปิดผนึก และแบบเปิดผนึก รวมทั้งให้บริการซ่อมแซมบำรุงรักษา
ตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้าดังกล่าว
ลักษณะความสัมพันธ์ : เดิมบริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 59.99 ของทุนจดทะเบียน
ที่ชำระแล้ว ต่อมาในปี 2547 บริษัทฯได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือเพียง
ร้อยละ 9.99 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว จึงมีฐานะเป็นเพียงบริษัทที่
เกี่ยวข้อง
1) ลักษณะของรายการระหว่างกัน : เงินกู้ยืมระยะยาว ดอกเบี้ยค้างรับ และดอกเบี้ยรับ
(บริษัทฯให้เงินกู้ยืมแก่บริษัท ไทยคอร์รูเกท จำกัด)
มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2547 : 13.89 ล้านบาท 1.54 ล้านบาท และ 0.8 ล้านบาท
มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2548 : 13.89 ล้านบาท 1.54 ล้านบาท และ - ล้านบาท
นโยบายราคา : เดิมบริษัทฯคิดอัตราดอกเบี้ย MLR (TMB) ต่อปี ณ วันที่ 1 ตุลาคม
2548 บริษัทฯ ได้ปรับการคิดอัตราดอกเบี้ยเป็น MLR (TMB) +
0.5% ต่อปี และได้ดำเนินการจัดทำหนังสือรับสภาพหนี้สำหรับ
ดอกเบี้ยค้างรับดังกล่าว
ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล : เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในช่วงที่บริษัท ไทยคอร์รูเกท จำกัด
ยังมีฐานะเป็นบริษัทย่อย และประสบปัญหาขาดสภาพคล่องใน
การดำเนินงานจนทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ อย่างไรก็ตาม
วันที่ 1 ตุลาคม 2548 บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดทำสัญญาเงินกู้ยืม
ระหว่างบริษัทฯ และบริษัท ไทยคอร์รูเกท จำกัด โดยบริษัทฯ จะ
ได้รับชำระคืนเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับครบภายในวันที่ 30
มิถุนายน 2555 และในอนาคตจะไม่เกิดรายการเงินให้กู้ยืมดังกล่าว
อีก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 บริษัทฯได้ตั้งสำรองหนี้สงสัญจะสูญ
เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับทั้งจำนวน 15.43 ล้านบาท
2) ลักษณะของรายการระหว่างกัน : ซื้อและเจ้าหนี้การค้า (บริษัทฯ ซื้อตัวถัง และชิ้นส่วนตัวถังหม้อแปลง
ไฟฟ้าระบบจำหน่ายแบบปิดผนึก)
มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2547 : 3.82 ล้านบาท และ 2.77 ล้านบาท
มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2548 : 11.04 ล้านบาท และ 2.22 ล้านบาท
นโยบายราคา : ราคาตลาด
ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล : เป็นรายการทางการค้าปกติทั่วไป และมีความจำเป็นต้องซื้อใน
อนาคต เนื่องจากมีผู้ผลิตน้อยรายและผู้ผลิตรายที่เหลือเป็นผู้ผลิต
ให้กับบริษัทคู่แข่ง
3) ลักษณะของรายการระหว่างกัน : บริษัทฯร่วมค้ำประกันวงเงินสินเชื่อ
มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2547 : 88.00 ล้านบาท
มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2548 : 88.00 ล้านบาท
นโยบายราคา : ค้ำประกันตามสัดส่วนการถือหุ้น
ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล : เป็นการค้ำประกันวงเงินให้กับบริษัทย่อยตามสัดส่วน เพื่อซื้อ
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตครีบระบายความร้อนแบบปิดผนึก
จากต่างประเทศในปี 2540 ในช่วงที่บริษัท ไทยคอร์รูเกท จำกัด
มีฐานะเป็นบริษัทย่อย ณ ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ดำเนินการทางด้าน
เอกสารโดยเปลี่ยนแปลงการค้ำประกันจากบริษัทฯเป็นหุ้น
บมจ. ถิรไทย 33 ล้านหุ้น ของผู้ถือหุ้น 41 รายแทน ซึ่งสัญญา
จะมีผลทันทีที่หลักทรัพย์ของบริษัทฯได้ทำการซื้อขายในตลาด
หลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) และในอนาคตรายการดังกล่าวจะ
ไม่เกิดขึ้นอีก
4) ลักษณะของรายการระหว่างกัน : ลูกหนี้การค้า (บริษัท ไทยคอร์รูเกท จำกัด ซื้อวัตถุดิบจาก บริษัท
ไทยฟิน จำกัด)
มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2547 : 0.42 ล้านบาท
มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2548 : 0.42 ล้านบาท
นโยบายราคา : มิได้เป็นรายการทางการค้าปกติ และมิได้เกิดขึ้นบ่อย แต่เพื่อรักษา
ความสัมพันธ์ในการดำเนินธุรกิจ
ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล : เป็นรายการซื้อวัตถุดิบ เพื่อใช้ในการซ่อมแซมโรงงาน ตั้งแต่
ปี 2541 แต่เนื่องจากบริษัท ไทยคอร์รูเกท จำกัด อยู่ระหว่างการ
ปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ให้กับบริษัท ไทยฟิน
จำกัด เนื่องจากติดเงื่อนไขของสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่ต้อง
ชำระคืนหนี้ให้กับเจ้าหนี้ปรับโครงสร้างให้ครบเรียบร้อยก่อน
และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 บริษัทฯได้ตั้งสำรองรายการ
ลูกหนี้การค้าดังกล่าวทั้งจำนวน 0.42 ล้านบาท
5) ลักษณะของรายการระหว่างกัน : เงินกู้ยืมระยะยาว ดอกเบี้ยค้างรับ และดอกเบี้ยรับ
(บริษัท ไทยฟิน จำกัด ให้เงินกู้ยืมระยะยาวแก่บริษัท ไทยคอร์รูเกท จำกัด)
มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2547 : 1.50 ล้านบาท 0.56 ล้านบาท และ 0.02 ล้านบาท
มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2548 : 1.50 ล้านบาท 0.56 ล้านบาท และ - ล้านบาท
นโยบายราคา : เดิมบริษัท ไทยฟิน จำกัด คิดอัตราดอกเบี้ย MLR (TMB) ต่อปี และ
ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2548 บริษัท ไทยฟิน จำกัด ได้ปรับคิดอัตรา
ดอกเบี้ยเป็น MLR (TMB) + 0.5% ต่อปี และได้ดำเนินการจัดทำ
หนังสือรับสภาพหนี้สำหรับดอกเบี้ยค้างรับดังกล่าว
ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล : เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
ของบริษัท ไทยคอร์รูเกท จำกัด ซึ่งขณะนั้นมีสถานะเป็นบริษัทย่อย
ของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 ตุลาคม 2548 บริษัท ไทยฟิน จำกัด
ได้ดำเนินการจัดทำสัญญาเงินกู้ยืมกับบริษัท ไทยคอร์รูเกท จำกัด
โดยบริษัท ไทยฟิน จำกัด ได้รับคืนเงินกู้ยืม และดอกเบี้ยค้างรับครบ
ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2556 และรายการดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นอีก
ในอนาคต และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 บริษัท ไทยฟิน จำกัด
ได้ตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับทั้งจำนวน
2.06 ล้านบาท
หมายเหตุ : ผู้บริหารของบริษัทฯได้ลาออกจากการเป็นผู้บริหารของบริษัท ไทยคอร์รูเกท จำกัด ในปี 2547 ทำให้
บริษัทฯไม่สามารถเข้าควบคุมและไม่มีอิทธิพลที่เป็นสาระสำคัญต่อบริษัทดังกล่าวอีกต่อไป
ความเห็นคณะกรรมการตรวจสอบ
รายการที่เกิดขึ้นดังกล่าว เป็นรายการที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจปกติโดยทั่วไป หรือ เป็นการช่วยเหลือ
ทางการเงินในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งไม่มีการถ่ายเทผลประโยชน์ระหว่างบริษัทหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
การกำหนดราคาสินค้า/บริการ และ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยรายการต่างๆ เป็นไปตามราคาตลาด และเงื่อนไข
ทางการค้าทั่วไป หรือเป็นราคาที่มีความสมเหตุสมผล และมีเงื่อนไขไม่ต่างไปจากการทำรายการกับบุคคลภายนอก
ภาระผูกพัน
(ยังมีต่อ)